ตำหนิพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิมีหู
ตำหนิพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิมีหู
ยกกล้องขึ้นส่อง จุดสังเกตตำหนิพิมพ์ทรงองค์พระ 11 จุด
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิพพ์สังฆาฏิมีหูหรือหูช้าง ทุกองค์ต้องมีหูแต่อาจมีที่ไม่ติด
1.ซุ้มหวายจะเรียวเล็กกว่าพิมพ์ไม่มีหู
2.พระพักตร์เป็นผลมะตูมอูมใหญ่ ปลายเกศเป็นเส้นตรงถ้าเอียงก็ไปทางขวาเล็กน้อย ปลายเกศทุกองค์จะทะลุซุ้ม
3.หูที่เป็นสัญลักษณ์อยู่ห่างแก้มเล็กน้อย ไม่ติดกับแก้ม หูด้านขวาองค์พระจะคมชัดกว่าหูด้านว้าย จะลึกไม่เท่ากัน และจะยาวกว่าเล็กน้อย
4.ไหล่ของพระจะลู่ลงไม่ตั้งฉาก แขนจะม้วนกลมมีหักสอกเล็กน้อยให้เป็นเหลี่ยม มือที่ลงมาประสานเป็นสมาธิจะเรียวเล็กมาก นั่งเหมือนตัวโย้สามธิมือเอียงไปด้านขวา
5.เส้นสังฆาฏิเห็นได้ชัดเจน
6.หน้าตักหรือแข้งจะอวบอูมและแอ่นงอนขึ้นทั้ง 2 ข้าง
7.ใต้องค์พระจะไม่มีขีดแซมเหมือนพิมพ์สังฆาฏิไม่มีหูโดยเด็ดขาด
8.ฐานชั้นที่ 1 หรือฐานชั้นแรกอวบอูมตกท้องช้างเหมือนกล้วยหอม
9.ฐานชั้นที่ 2 ไม่ปรากฏทำเหมือนฐานสิงห็เป็นฐานขีดขึ้นมาเฉยๆ แตกต่างกับทุกพิมพ์
10.ฐานชั้นที่ 3 จะมีเส้นขอบที่ฐานเล็กน้อย
11.พระพิมพ์นี้ทุกองค์จะมีรอยปลิ้นของขอบ ยกเว้นได้มาแล้วนำไปฝนขอบเลี่ยมใส่กรอบ
(ขอขอบพระคุณความรู้จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย samakomphra )
ตำหนิพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่
ตำหนิพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่
1. ให้สังเกตเส้นซุ้มครอบแก้วเป็นอันดับแรก คือ เส้นซุ้มครอบแก้วทั้งเส้นซ้ายและเส้นขวามือพระ จะโย้ไปทางซ้ายมือพระทั้งหมด จึงทำให้เกิดดังนี้ เส้นกรอบแม่พิมพ์ทางขวามือพระซึ่งเป็นเส้นนูนเส้นเล็ก ๆ ลากลงมาจากด้านบนและจะเริ่มแนบเส้นซุ้มครอบแก้ว ตั้งแต่บริเวณหัวเข่าขวาพระจรดเส้นซุ้มด้านล่างสุด
2. ส่วนเส้นกรอบตำหนิพระเครื่องแม่พิมพ์ทางด้านซ้ายมือพระจะลากลงมาจากด้านบนและจะแนบเส้นซุ้มครอบแก้วตั้งแต่กึ่งกลางแขนถึงปลายข้อศอกซ้ายพระและจะกลืนหายไปกับเส้นซุ้มครอบแก้ว
3. เกศตำหนิพระเครื่องพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ จะเป็นปลีเรียวเล็ก คือโคนเกศจะใหญ่กว่าปลายเกศเล็กน้อย และจะพุ่งขึ้นจรดซุ้มทุกแม่พิมพ์ของพิมพ์ใหญ่ และเกศจะเอียงไปทางซ้ายพระเล็กน้อย
4. รูปหน้าของสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ จะคล้ายผลมะตูม เฉพาะบางแม่พิมพ์จะมีโหนกยื่นทางแก้มขวาพระ ส่วนถ้าแม่พิมพ์กดได้ลึกคมชัด จะเห็นหูซ้ายพระเป็นเส้นทิ้งตรงลงมา แต่จะเห็นแบบราง ๆ เท่านั้น
5. ให้สังเกตความกว้างของรักแร้ คือความกว้างจากรักแร้ถึงหัวไหล่ ด้านบนทางด้านขวามือพระจะหนา ส่วนทางด้านซ้ายมือพระจะบางกว่า
6. ให้สังเกตลำตัวและวงแขนพระจะนั่งบิดตัวไปทางขวาเล็กน้อยและแขนขวาพระจากหัวไหล่ถึงข้อศอกจะแลดูสั้น ส่วนทางซ้ายพระจากหัวไหล่ถึงข้อศอก จะแลดูยาวกว่า
7. ซอกรักแร้ข้างซ้ายพระช่างจะแกะแม่พิมพ์ลึกกว่าข้างขวามือพระและจะแกะแม่พิมพ์ให้ลาดเอียงจากข้างเอวพระทั้งสองข้างจะตื้น และลาดลงลึกสุดที่รักแร้พระ
8. หัวฐานชั้นบนสุดข้างซ้ายพระจะเตี้ยกว่าหัวเข่าข้างซ้ายพระเล็กน้อย และหัวฐานนี้จะยาวกว่าหัวเข่าเล็กน้อย ส่วนหัวเข่าด้านขวาพระจะเตี้ยกว่าหรือแค่เสมอหัวฐานชั้นบนข้างขวาพระ
9. หัวฐานชั้นล่าง ด้านขวามือพระช่างจะแกะแม่พิมพ์เฉียงเล็กน้อย และหัวฐานเกือบชิดเส้นซุ้ม
10. หัวฐานชั้นล่างด้านซ้ายมือพระ ช่างจะแกะหัวฐานค่อนข้างตรงและห่างเส้นซุ้ม
11. พื้นที่ ตำหนิพระเครื่องลองส่องพระย้อนกลับคือให้ส่องจากเกศพระไล่ลงมาจะได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นคือ พื้นที่ตั้งแต่เกศจะต่ำและลาดสูงขึ้นไปจนถึงข้างแขนพระทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
12. แขนซ้ายพระตั้งแต่หัวไหล่ถึงข้อศอกช่างจะแกะแม่พิมพ์ต่ำกว่าข้างขวาพระและแกะหัวไหล่ต่ำลาดสูงขึ้นไปจนถึงข้อศอก
13. ร่องฐานระหว่างหน้าตักกับฐานชั้นบน ร่องฐานทางขวาจะตื้นและลาดลง จะลึกสุดคือปลายด้านซ้าย
14. ร่องฐานระหว่างฐานชั้นบนกับฐานชั้นกลาง พื้นที่ในร่องฐานจะเสมอภายนอก
ตำหนิพระเครื่อง