ตำหนิพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิมีหู

ตำหนิพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิมีหู

 



ยกกล้องขึ้นส่อง จุดสังเกตตำหนิพิมพ์ทรงองค์พระ 11 จุด
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิพพ์สังฆาฏิมีหูหรือหูช้าง ทุกองค์ต้องมีหูแต่อาจมีที่ไม่ติด
1.ซุ้มหวายจะเรียวเล็กกว่าพิมพ์ไม่มีหู
2.พระพักตร์เป็นผลมะตูมอูมใหญ่ ปลายเกศเป็นเส้นตรงถ้าเอียงก็ไปทางขวาเล็กน้อย ปลายเกศทุกองค์จะทะลุซุ้ม
3.หูที่เป็นสัญลักษณ์อยู่ห่างแก้มเล็กน้อย ไม่ติดกับแก้ม หูด้านขวาองค์พระจะคมชัดกว่าหูด้านว้าย จะลึกไม่เท่ากัน และจะยาวกว่าเล็กน้อย
4.ไหล่ของพระจะลู่ลงไม่ตั้งฉาก แขนจะม้วนกลมมีหักสอกเล็กน้อยให้เป็นเหลี่ยม มือที่ลงมาประสานเป็นสมาธิจะเรียวเล็กมาก นั่งเหมือนตัวโย้สามธิมือเอียงไปด้านขวา
5.เส้นสังฆาฏิเห็นได้ชัดเจน
6.หน้าตักหรือแข้งจะอวบอูมและแอ่นงอนขึ้นทั้ง 2 ข้าง
7.ใต้องค์พระจะไม่มีขีดแซมเหมือนพิมพ์สังฆาฏิไม่มีหูโดยเด็ดขาด
8.ฐานชั้นที่ 1 หรือฐานชั้นแรกอวบอูมตกท้องช้างเหมือนกล้วยหอม
9.ฐานชั้นที่ 2 ไม่ปรากฏทำเหมือนฐานสิงห็เป็นฐานขีดขึ้นมาเฉยๆ แตกต่างกับทุกพิมพ์
10.ฐานชั้นที่ 3 จะมีเส้นขอบที่ฐานเล็กน้อย
11.พระพิมพ์นี้ทุกองค์จะมีรอยปลิ้นของขอบ ยกเว้นได้มาแล้วนำไปฝนขอบเลี่ยมใส่กรอบ


(ขอขอบพระคุณความรู้จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย samakomphra )