วิธีดูพระสมเด็จวัดระฆังฯ 100 ปี พิมพ์ไข่ปลาเลือน นิยม

จุดสังเกตุพิมพ์ไข่ปลาเลือน

พระสมเด็จ ๑๐๐ ปี วัดระฆังฯ พิมพ์ที่นิยมในตอนนี้จะมีอยู่ ๒ พิมพ์คือ พิมพ์พระประธานแบบไข่ปลาเลือน (พิมพ์ไข่ปลาเลือน) และ พิมพ์พระประธานแบบเส้นด้าย (พิมพ์เส้นด้าย)


-พื้นที่ข้างซ้ายขวาขององค์พระ พื้นที่ข้างองค์พระภายใจเส้นซุ้ม ด้านขวาขององค์พระมากกว่าด้านซ้าย

-พระพักตร์ พระพักตร์อูมสวยได้รูป ช่วงต่อระหว่างพระพักตร์กับพื้นหลังเรียบเนียนไม่สะดุดหรือหักมุม กรณีองค์ที่ช่วงพระพักตร์กดไม่เต็มพิมพ์อาจมีความแตกต่างไปบ้าง

-วงพระกร สำหรับพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม รุ่น ๑๐๐ ปี พิมพ์ใหญ่ บล็อคไข่ปลาเลือน ที่กดพิมพ์ได้สมบูรณ์ วงพระกรจะมีลักษณะอูมหนาดังภาพ

-จุดไข่ปลา จุดไข่ปลาของพระสมเด็จวัดระฆัง ๑๐๐ ปี บล็อคไข่ปลาเลือน อยู่บริเวณกึ่งกลางของฐานชั้นบน โดยปกติจะเห็นเป็นเม็ดไข่ปลาเล็ก ๆ ลาง ๆ ไม่ติดก็มี องค์ในภาพถือได้ว่าค่อนข้างชัดเมื่อเทียบกับในบล็อคแม่พิมพ์เดียวกัน แต่องค์ที่เห็นเป็นเม็ดไข่ปลาชัด ๆ เลยก็มี

-ฐานมีลักษณะเชิดขึ้น พระเพลาและฐานชั้นบนมีลักษณะเชิดขึ้นไปทางด้านซ้ายขององค์พระเห็นได้ชัดเจน

-รอยตัดด้านข้าง พระผงวัดระฆังโฆษิตาราม รุ่น ๑๐๐ปี เป็นพระที่เกิดจากการกดพิมพ์พระด้วยมือ ตัดขอบข้างด้วยมือ องค์พระจะแสดงรอยตัดจากหน้าไปหลัง รอยตัดอาจมีลักษณะเป็นรอยครูดของมวลสารในเนื้อพระ รอยปริแยก อย่างใดอย่างหนึ่งหรือสองลักษณะก็ได้




๑. มีจุดไข่ปลาเล็กๆ ๑ จุดในพระพาหา (แขน) ข้างขวา
๒. มีเส้นทิวอยู่ด้นในเส้นซุ้มด้านซ้าย
๓. จุดไข่ปลา จะเห็นเลือนๆ ติดไม่ชัด อาจดูเป็นตุ่มขึ้นมาอยู่ที่ข้างขวาแนวเดียวกับฐานชั้นแรก บางองค์อาจไม่ติดเลย
๔. มีรอยเว้าเนื้อหายไปของเส้นซุ้มด้านซ้ายบริเวณฐานชั้นล่าง

กล่องแรกแท้ / 2-3 ปลอม 

จุดสังเกตุกล่องบรรจุของเดิม(แท้จากวัด)

กล่องเดิมจากทางวัดมี 2 ยี่ห้อ คือ COSMO และ VISION พระสมเด็จฯ ๑๐๐ ปีทุกองค์จะผ่านการทำพิธีปลุกเสกพร้อมกันหมด แต่เนื่องจากการกดพระกดเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในตอนแรกทำให้กล่อง COSMO ที่ทางวัดสั่งทำไว้ในตอนแรกไม่เพียงพอ ทางวัดจึงสั่งกล่องใหม่จากทาง Vision หลังจากนั้นกล่อง Vision ก็หมดอีก ทำให้ประชาชนที่บูชาในตอนหลังได้แต่พระอย่างเดียวไม่มีกล่องให้

กล่องแท้จะมีจุดสังเกตดังนี้
- เลข ๒ ตัวแรกของวันที่ ๒๒ จะตรงกับ จ ของ สมเด็จ
- ป ของปีแถวบนสุด จะตรงกับ พ ของ พรหม และตรงกับเลข ๕ ของ ๒๕๑๕


ตรายางแรก / แท้ 2-3 ปลอม

จุดสังเกตุตรายาง

ตรายางมีแบบเดียวเท่านั้น ดังนั้นถ้าตรายางไม่ใช่มีโอกาสไม่แท้เกือบ ๑๐๐ % ตรายางที่ปั๊มหลังพิมพ์พระประธานจะเป็นสีน้ำเงิน ส่วนตรายางที่ปั๊มหลังพิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต จะเป็นสีแดง

- ตรายางอันแรก ของแท้และดั้งเดิม
- ตรายางอันกลาง ไม่แท้แต่ทำออกมาได้ค่อนข้างเหมือนมากแต่ยังไม่เหมือนซะทีเดียว ลองดูที่ตัวอักษรในตรายางเปรียบเทียบกับตรายางอันแรกดู
- ตรายางอันสุดท้ายเห็นแล้วจบเลย ไม่ต้องคิดมาก

วิธีดูพระสมเด็จวัดระฆัง 100ปี พิมพ์เส้นด้าย (ลึก)

จุดสังเกตุพิมพ์เส้นด้าย

พระสมเด็จ ๑๐๐ ปี วัดระฆังฯ พิมพ์ที่นิยมในตอนนี้จะมีอยู่ ๒ พิมพ์คือ พิมพ์พระประธานแบบไข่ปลาเลือน (พิมพ์ไข่ปลาเลือน) และ พิมพ์พระประธานแบบเส้นด้าย (พิมพ์เส้นด้าย)

พระสมเด็จวัดระฆัง ๑๐๐ปี พิมพ์เส้นด้าย (ลึก) นิยม ลักษณะพิมพ์เส้นด้าย พิมพ์นี้มีพิมพ์ทรงโดยรวมคล้ายคลึงกันกับ พิมพ์ไข่ปลาเลือน ซึ่งน่าจะมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน เพียงแต่มีตำหนิในพิมพ์บางจุดที่ต่างออกไปอันเกิดมาจากการทำความสะอาด และเซาะตกแต่งแม่พิมพ์ จึงทำให้แม่พิมพ์เดิมผิดเพี้ยนไปบางเล็กน้อย





พิมพ์นี้ส่วนใหญ่น้ำมันเคลือบผิวค่อนข้างบาง เนื้อพระจึงออกขาว ขอบข้างมีทั้งหนา และบาง มีรอยกระดาษทรายขัดแต่งขอบข้าง และด้านหลัง รอยกระดาษทรายนี้ถือว่าสำคัญมากจุดหนึ่งในการพิจารณา พระผงรุ่น ๑๐๐ ปี เพราะทุกพิมพ์ทุกเนื้อจะต้องมีรอยกระดาษทรายขัดแต่งให้เห็นอยู่ทุกองค์ไม่มากก็น้อย




๑. องค์ที่กดพิมพ์ติดชัด พระเศียรจะดูโต ถ้าเทียบกับองค์พระ
๒. พระอังสา (ไหล่) ซ้ายขององค์พระจะยกสูงกว่าข้างขวา ทำให้พระกัจฉะ (รักแร้) ซ้ายดูแหลมเป็นมุมแคบกว่าข้างขวา บางองค์อาจเห็นไม่ชัดครับ
๓. ไข่ปลาอยู่ที่ข้างขวาแนวเดียวกับฐานชั้นแรก
๔. รูปถ่ายชัดๆ บริเวณที่วงไว้จะเห็นเป็นแอ่งยุบลงไป ซึ่งถ้าลากเส้นตรงขึ้นไปด้านบนจะตรงกับไหล่ขวาขององค์พระ
๕. เส้นปิดซุ้มล่างซ้ายจะติดไม่เต็ม สังเกตเห็นได้ชัดแทบทุกองค์ และถือว่าเป็นจุดตายในการพิจารณาพิมพ์นี้


กล่องแรกแท้ / 2-3 ปลอม 

จุดสังเกตุกล่องบรรจุของเดิม(แท้จากวัด)

กล่อง เดิมจากทางวัดมี 2 ยี่ห้อ คือ COSMO และ VISION พระสมเด็จฯ ๑๐๐ ปีทุกองค์จะผ่านการทำพิธีปลุกเสกพร้อมกันหมด แต่เนื่องจากการกดพระกดเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในตอนแรกทำให้กล่อง COSMO ที่ทางวัดสั่งทำไว้ในตอนแรกไม่เพียงพอ ทางวัดจึงสั่งกล่องใหม่จากทาง Vision หลังจากนั้นกล่อง Vision ก็หมดอีก ทำให้ประชาชนที่บูชาในตอนหลังได้แต่พระอย่างเดียวไม่มีกล่องให้

กล่องแท้จะมีจุดสังเกตดังนี้
- เลข ๒ ตัวแรกของวันที่ ๒๒ จะตรงกับ จ ของ สมเด็จ
- ป ของปีแถวบนสุด จะตรงกับ พ ของ พรหม และตรงกับเลข ๕ ของ ๒๕๑๕


ตรายางแรก / แท้ 2-3 ปลอม

จุดสังเกตุตรายาง

ตรา ยางมีแบบเดียวเท่านั้น ดังนั้นถ้าตรายางไม่ใช่มีโอกาสไม่แท้เกือบ ๑๐๐ % ตรายางที่ปั๊มหลังพิมพ์พระประธานจะเป็นสีน้ำเงิน ส่วนตรายางที่ปั๊มหลังพิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต จะเป็นสีแดง

- ตรายางอันแรก ของแท้และดั้งเดิม
- ตรายางอันกลาง ไม่แท้แต่ทำออกมาได้ค่อนข้างเหมือนมากแต่ยังไม่เหมือนซะทีเดียว ลองดูที่ตัวอักษรในตรายางเปรียบเทียบกับตรายางอันแรกดู
- ตรายางอันสุดท้ายเห็นแล้วจบเลย ไม่ต้องคิดมาก

วิธีดูพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

 พระสมเด็จวัดระฆัง เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต) เริ่มสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.2387 ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชปัญญาภรณ์(โต) นับถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 170 ปี และเป็นที่น่ารู้น่าสนใจกันมากว่า พระสมเด็จวัดระฆังแท้เป็นอย่างไร จากการดูด้วยตาจากพระสมเด็จวัดระฆังองค์จริง จะดู 1 องค์ 10 องค์ หรือ 100 องค์ จะปรากฎลักษณะดังต่อไปนี้



1.พิมพ์ทรง พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่มีหลายพิมพ์ และแยกง่ายๆ ให้เข้าใจว่า เป็นพิมพ์ใหญ่ A พิมพ์ใหญ่ B พิมพ์ใหญ่ C หรือเรียกว่า พิมพ์ใหญ่ทรงใหญ่ พิมพ์ใหญ่ทรงกลาง พิมพ์ใหญ่ทรงเล็ก และแยกย่อยให้ชัดว่าเป็นพิมพ์พระประธาน อกกระบอก อกผาย อกวี เป็นต้น ตามรูปลักษณะขององค์พระและขนาดของพระ ได้แก่ พิมพ์ใหญ่ A ความสูง 3.3 ซม. พิมพ์ใหญ่ B ความสูง 3.2 ซม. พิมพ์ใหญ่ C ความสูง 3.1 ซ.ม การวัดความสูง วัดจากตรงกลางขอบในเส้นซุ้มโค้งด้านบนสุดลากตรงลงมาจดขอบนอกเส้นซุ้มตรงด้านล่าง ลักษณะเส้นซุ้มองค์พระ ฐานพระ แต่ละพิมพ์ดังกล่าวข้างต้น ถ้าพิมพ์เดียวกันจะเหมือนกันทุกองค์ เพราะกดจากแม่พิมพ์เดียวกัน เช่น เศียรเรียวเล็กคมสะบัดซ้ายขวา จะเหมือนกันทุกองค์ หรือเส้นซุ้มโค้งโย้จะโย้ไปทางเดียว จะมีตำหนิเพียงเล็กน้อย เกิดจากการกดหนักเบา หรือแม่พิมพ์เคลื่อน แม่พิมพ์ตื้น หรือชำรุดจากงานใช้งานมาก



พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ A เกศทะลุซุ้ม เนื้อเหลือง แกร่ง มีคราบฝ้าขาวปกคลุม


พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ B อกวี เนื้อเหลือง เนื้อจัด แห้งย่น มีมวลสารกระจายทั่วองค์พระ


พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ C อกยู เนื้อจัด หนึกนุ่ม มีฝ้าขาวปกคลุมแตกลายงาสวยงามมาก


2.เนื้อพระเก่า เนื่องจากพระสมเด็จวัดระฆัง มีอายุการสร้างประมาณ 146 ปี ความเก่าแก่ ทำให้เนื้อพระแกร่งแห้งย่น แต่หนึกนุ่มนวลตา ไม่แห้งกระด้าง ด้วยเนื้อพระมีปูนเป็นส่วนผสมหลักซึ่งเป็นปูนเก่าหม่นซีด จะมีคราบปูนขับออกมาจากเนื้อพระเป็นคราบหรือฝ้าสีขาวหม่น สีเหลืองเข้ม สีน้ำตาลแก่ ถ้ามีส่วนผสมของเนื้อกล้วยมาก เนื้อพระจะมีสีชมพูอ่อน หรือ เหลืองอ่อน ถ้ามีส่วนผสมของปูนมาก จะเป็นสีขาว บางองค์เนื้อพระจะเป็นสีน้ำตาลเข้มที่เรียกว่า"พระเนื้อจัด" ความเก่าแก่จะต้องดูที่องค์จริงหลายๆ องค์ ดูบ่อยๆ จนติดตา แต่นักโบราณคดีหรือนักธรณีวิทยาเชื่อว่าการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ วัดค่าความเก่าแก่ของเนื้อปูนด้วยเครื่องมือตามหลักวิทยาศาสตร์พิสูจน์อายุความเก่าได้


พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เนื้อพระแกร่งแห้งย่น

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เนื้อพระมีคราบฝ้าสีขาวปกคลุม หรือที่เรียกว่าแป้งโรยพิมพ์

3.มีรอยยุบ รอยย่น รอยยับ รอยแยก รอยแตกลาน รอยหลุมบ่อบนเนื้อพระทั้งด้านหน้าด้านหลัง เป็นธรรมชาติความเก่าแก่ตามกาลเวลาอายุร้อยกว่าปี บ่มพระให้เกิดรอยเหล่านี้ขึ้น ที่เห็นชัดเจนได้แก่ พระที่ลงรักเก่ามาแต่เดิม รักเก่าจะหลุดร่อนเองตามกาลเวลาและอายุของรัก เมื่อรักหลุดร่อนจะเห็นเนื้อในมีทั้งรอยยุบ รอยย่น รอยแยก รอยแตกลาน รอยยับ สาเหตุเกิดจากความร้อน ความชื้น บ่มเนื้อพระ เป็นเวลานาน เกิดการหดตัว ขยายตัว และถูกบีบรัด บางองค์จะแตกลายงา ลายสังคโลก บางองค์แตกคล้ายรากผักชี บางองค์แตกอ้าตามขอบพระด้านหลัง ถ้าไปพบพระแตกลานไม่แตกละเอียด อย่าเพิ่งสรุป เพราะพระสมเด็จวัดระฆังที่พบหลายองค์ มีแตกลายงาทั้งละเอียด ทั้งแตกหยาบแตกลานไปทั่วผิวพระ องค์พระ และเส้นซุ้มก็มี ลักษณะการเกิดรอยยุบ ย่น ยับ แยก แตกลาน หลุมบ่อ เป็นจุดชี้ชัดความเก่าแก่และเป็นพระแท้

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เนื้อสีน้ำตาลเข้ม เนื้อจัดมาก แตกลายงามีน้ำรักแทรกซึมตามรอยแตก ด้านหลังกาบหมาก

4.ลักษณะของผิวพระสมเด็จวัดระฆัง พระที่ยังไม่ล้างผิว จะมีผิวนอกเป็นชั้นๆ ชั้นนอกจะมีคราบสีน้ำตาลหรือเหลืองแก่ ปกคลุม เรียกว่า "เมือกพระ" ถัดไป จะมีคราบขาวหม่นหรือสีเทาอ่อนๆ ปกคลุมอยู่บางๆ และคราบดังกล่าวจะกลายเป็นเนื้อจริง เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี น้ำปูนจะขับออกมาจากเนื้อพระ บางองค์ลงรักเก่าไว้เมื่อรักหลุดร่อน คราบเหล่านี้ยังปรากฎให้เห็นอยู่ บางคนเรียกว่า "แป้งโรยพิมพ์" และเป็นที่สังเกตถึงความเก่าของเนื้อพระอีกจุดหนึ่ง

5.ความเก่าของรัก พระสมเด็จวัดระฆังที่ลงรักเก่าจะมีสีดำหม่น หรือสีน้ำตาลอมดำ ลักษณะรักเก่าจะหม่นซีดหมดอายุ รักเก่าจะหลุดร่อนออกเองตามธรรมชาติ เพราะหมดอายุ เผยให้เห็นเนื้อพระ มองดูคล้ายกับว่าอ่อนนุ่ม ยุ่ยชื้นและหนึกนุ่มนวลตา ความจริงแข็งแกร่งเหมือนหิน ถ้าแตกลายงาหรือลายสังคโลก น้ำรักที่ซึมแทรกตามรอยแตกปรากฎเส้นเล็กๆ แต่บางค์องค์แตกลานจะไม่ปรากฎเส้นที่มีรักฝังอยู่ ถ้าเอาพระสมเด็จวัดระฆังองค์ที่รักเก่าหลุดร่อน ออกมาจนเห็นเนื้อ นำไปส่องแสงแดดดู จะสะท้อนแสงแดด เป็นประกายแวววับ คล้ายองค์พระเปล่งรัศมีงามจับตา

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ลงรักเก่า เนื้อจัดแกร่ง


6.มวลสาร มวลสารที่ปรากฎบนพระสมเด็จ วัดระฆังทั้งด้านหน้าด้านหลังจะมีมากน้อยบ้างแล้วแต่ส่วนผสม จะมีเม็ดดำ เม็ดแดงจากผงพระซุ้มกอบด มีก้อนสีขาวใส สีขาวขุ่น หรือสีเทาอ่อน แต่แข็งแกร่งฝังอยู่ในเนื้อพระที่เรียกว่า "แร่หิน" และมีผงขาวขุ่น เม็ดก้อนเล็กๆ ที่เรียกว่า "ผงพุทธคุณ" และเม็ดสีขาวอมเหลือง เรียกว่า "เม็ดพระธาตุ" มวลสารเหล่านี้อยู่ในรอยแยกของเนื้อพระ บางทีเม็ดมวลสารเหล่านี้หลุดร่อนออกไป จะเกิดเป็นหลุมบ่อบนพื้นผิวพระทั้งหน้าหลัง ถือเป็นจุดพิจารณาความเก่าแก่ของพระได้เช่นกัน หลุ่มบ่อเหล่านี้มีปรากฎให้เห็นองค์จริงหลายองค์

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม เนื้อแกร่ง มีรอยย่นและเป็นหลุมบ่อ เกิดจากการหลุดร่วงของมวลสาร

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ อกกระบอก มีมวลสาร ได้แก่ เม็ดพระธาตุ ผงวิเศษ กระจายอยู่ทั่วองค์พระ
  
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ อกวี เกศทะลุซุ้ม เนื้อจัด มีมวลสารชัดเจน ด้านหลังเป็นหลุมบ่อ เนื่องจากมวลสารหลุดร่อน

7.เนื้องอก เป็นจุดสำคัญที่สุดที่บ่งบอกความเป็นพระสมเด็จแท้ จะมีเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังทุกองค์ที่เก่าถึงยุค ลักษณะเนื้องอกเป็นเม็ดเล็กๆ ผุดขึ้นจากเนื้อพระตามพื้นผิว เส้นซุ้มองค์พระ ฐานพระมีน้อยบ้างมากบ้าง ทั้งด้านหน้าด้านหลัง เป็นเพราะมีส่วนผสมมวลสารเช่นเดียวกับ "พระวัดพลับ" ที่สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) สร้างเอาไว้ คือ "ผงธาตุสิวลี หรือ ผงวิเศษ" เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต) นำมาคลุกผสมกับส่วนผสมอื่นๆ ประกอบกับพระสมเด็จวัดระฆัง มีอายุร้อยกว่าปี จะมีเนื้องอกผุดออกจากเนื้อพระ เป็นเม็ดเล็กกลมใส สีชมพูอ่อน สีน้ำตาล สีขาว ตามสีของเนื้อพระ บางทีการงอกจะดันรักเก่าให้หลุดร่อนออกมาเอง
  
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ มีเนื้องอกผุดขึ้นที่หน้าตัก ตรงเข่าซ้ายขององค์พระ เป็นเม็ดกลมใส ประมาณ 5 เม็ด

วิธีดูตำหนิพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ เอ

แนวทางและขั้นตอนการพิจารณาจุดชี้ตำหนิด้านหน้าของ พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 1 (พิมพ์ เอ)





Cr. www.aj-ram.com

วิธีดูตำหนิพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ ซี

แนวทางและขั้นตอนการพิจารณาจุดชี้ตำหนิด้านหน้าของ พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 3 (พิมพ์ ซี)





Cr. www.aj-ram.com

วิธีดูตำหนิพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ บี

แนวทางและขั้นตอนการพิจารณาจุดชี้ตำหนิด้านหน้าของ พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 2 (พิมพ์ บี)





Cr. www.aj-ram.com

วิธีดูตำหนิพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ที่ 2

แนวทางและขั้นตอนการพิจารณาจุดชี้ตำหนิด้านหน้าและด้านหลัง พระ สมวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ทรงเจดีย์ [พิมพ์ที่ 2 ด้านหน้า-ด้านหลัง ] พร้อมพระตัวอย่างไว้ประกอบในการพิจารณา








Cr. www.aj-ram.com

วิธีดูตำหนิพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม 2/2

พระสมวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ฐานแซมมีทั้งหมด 4 พิมพ์ และพิมพ์ด้านหลัง 3 พิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์มีลักษณะเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้การสังเกตอย่างละเอียด






วิธีดูตำหนิพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม 1/2

แนวทางและขั้นตอนการพิจารณาจุดชี้ตำหนิด้านหน้าและด้านหลังของ พระสมวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ฐาน









วิธีดูตำหนิพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ ดี

แนวทางและขั้นตอนการพิจารณาจุดชี้ตำหนิด้านหน้าของ พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 4 (พิมพ์ ดี)